วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555


สัปดาห์ที่ 19-20 ระหว่างวันที่ 24-5 เดือน กันยายน ตุลาคม 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การคุม/ การเดินข้อสอบ
2.             การทำ Book Mark
3.             การจัดโครงการพันธุกรรมพืช

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
                การกรอกคะแนนของนักเรียนลง Book Mark เนื่องจากไม่ชินกับโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดในการลงบ้าง ซึ่งใน Book Mark จะลงคะแนนของนักเรียนในแต่ละหน่วย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการการ คิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ไข ศึกษาและข้อคำแนะนำกับครูพี่เลี้ยง

สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             การกรอกคะแนนลง Book Mark


สัปดาห์ที่ 17-18 ระหว่างวันที่ 10-21 เดือน กันยายน 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การออกข้อสอบปลายภาค
2.             การเก็บคะแนนชิ้นงานต่างๆของนักเรียน
3.             การจัดกิจกรรมสันทนาการนักเรียนในแต่ละระดับชั้น
4.             การเลือกวิชาเรียนชุมนุม
5.             การทำโครงการพันธุกรรมพืช

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
                การเก็บคะแนนของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ส่งงานตามที่ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้การกรอกคะแนน/รวบรวมคะแนน มีความล่าช้ามาก
                วิธีการแก้ไข สำหรับนักเรียนที่ไม่ส่งงานตามกำหนด ผู้สอนอาจให้โอกาสส่งอีกครั้ง ถ้าหากนักเรียนยังไม่ส่งงานอีก ผู้สอนอาจให้ 0 ในส่วนนั้น เพื่อฝึกพฤติกรรมของนักเรียน

สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             การวัดและการประเมินผลที่หลากหลาย
2.             การจัดกิจกรรมการสอนที่บูรณา ASEAN สอดแทรกในเนื้อหาวิชาแต่ละคาบ
3.             Classroom Language
4.             การวิเคราะห์และการจัดทำคำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน






สัปดาห์ที่ 15-16 ระหว่างวันที่ 28-7 เดือน สิงหาคม กันยายน 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของนักเรียน
2.             การทำโครงการพันธุกรรมพืช
3.             การจัดค่าย English Camp
4.             การวัดและประเมินผลนักเรียนที่หลากหลาย

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
1.             การอ่านออกเสียงของนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ได้แม้กระทั่งคำศัพท์ที่ง่าย เช่น คำว่า they, the สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้สอนไม่สนใจเมื่อนักเรียนอ่านไม่ได้ผู้สอนจะผ่านไป โดยไม่แก้ไข ไม่สนใจ
วิธีการแก้ไข ผู้สอนต้องเน้นการออกเสียงให้มาก คำไหนที่นักเรียนอ่านไม่ได้ผู้สอนต้องอ่านให้นักเรียนฟังหลายๆรอบ แล้วให้นักเรียนอ่านตาม ถ้ายังไม่ได้อีกครูอาจเรียกนักเรียนที่มีปัญหานั้นมาสอนเป็นรายบุคลเมื่อมีเวลาว่าง
2.             ความกล้าแสดงออก นักเรียนส่วนใหญ่ไม่กล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียน เมื่อครูให้นักเรียนออกมานำเสนองาน นักเรียนมักจะเกี่ยงกัน ไม่มีใครกล้าออก
วิธีการแก้ไข ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้แสดงออกมากยิ่งขึ้น หรือครูอาจให้แรงเสริมโดยการให้คะแนน จะทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจหรือความกล้าในการออกหน้าห้อง

สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             การพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ทั้งความรู้ วิธีสอน กิจกรรม การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การปรับบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการเป็นครู ทั้งนี้เพื่อให้เราเป็นครูที่สมบูรณ์แบบ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักเรียน




สัปดาห์ที่ 13-14 ระหว่างวันที่ 11-25 เดือน สิงหาคม 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การควบคุมชั้นเรียน
2.             การจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลาย
3.             การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
4.             การทำวิจัยชั้นเรียน
5.             การผลิตสื่อการสอน

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

1.             การมีส่วนร่วมในการเรียน โดยปกติภาษาอังกฤษนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียน เพราะคิดว่ายาก เมื่อเป็นดังนั้นส่งผลให้ ทุกกิจกรรมหรือเนื้อหาที่ครูได้สอนให้กับนักเรียนนั้น ผู้เรียนจะไม่สนใจและไม่รับความรู้ที่ครูมอบให้ เมื่อให้นักเรียนทำงาน ทำการบ้าน หรือออกมาทำกิจกรรมหน้าหน้าชั้นเรียน นักเรียนมักจะไม่ให้ความร่วมมือในการทำ ส่วนหนึ่งอาจมาจากความกล้าแสดงออกของนักเรียนยังน้อยอยู่ ทำให้การดำเนินการสอนไม่เป็นไปตามที่เราได้วางไว้
วิธีการแก้ไข ผู้สอนต้องทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ เมื่อนักเรียนคิดในด้านบวกจะทำให้นักเรียนสนุก ไม่รู้สึกว่าภาษาอังกฤษยาก และน่าเบื่อ โดยผู้สอนต้องจัดการเรียนที่สอดแทรกความสนุกไปพร้อมกับเนื้อหาสาระ วิธีการสอนที่แปลกใหม่จากที่นักเรียนที่นักเรียนเคยเรียน  กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น

สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             สื่อการสอนที่หลากหลาย
2.             การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง





สัปดาห์ที่ 11-12 ระหว่างวันที่ 30-10 เดือน สิงหาคม 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การจัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ
2.             การมีส่วนร่วมในการแข่งขันทักษะวิชาการ
3.             การทำป้ายนิเทศวิชาเอก/วันสำคัญต่างๆ

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
1.             การจัดกิจกรรมของนักศึกษาฝึกสอน ในการจัดกิจกรรมนั้นต้องมีการวางแผนในการทำงาน แบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน กำหนดชิ้นงานหรือรูปแบบของงานให้ชัดเจน จะทำให้งานนั้นดำเนินไปอย่างด้วยดี
วิธีการแก้ไข ก่อนการทำงานต้องมีการวางแผน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน เมื่อมีปัญหาส่วนไหนช่วยกันแก้ไข ในการทำงานกลุ่มทุกคนต้องมีความสามัคคีกัน ช่วยเหลือกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จะทำให้งานที่เราทำนั้นประสบความสำเร็จอย่างที่เราตั้งไว้

สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             รูปแบบของป้ายนิเทศให้มีความหลากหลาย สวยงาม
2.             กิจกรรมที่ทำในงานสำคัญ
3.             การจัดป้ายนิเทศ






สัปดาห์ที่ 9-10 ระหว่างวันที่ 16-27 เดือน กรกฎาคม 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การออกข้อสอบ
2.             การคุมห้องสอบ/การเดินข้อสอบ
3.             การจัดกิจกรรมกีฬาสี
4.             การจัดทำโครงสร้างสูตรสถานศึกษา (การออกรหัสวิชาเรียน)
5.             การออกใบเสร็จจ่ายเงินให้กับนักเรียน

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
1.             การออกข้อสอบ ต้องออกข้อสอบให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้สามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ข้อสอบที่ออกนั้นต้องสอดคล้องกับระดับชั้นและเนื้อหาที่สอน
วิธีการแก้ไข ศึกษาวิธีการออกข้อสอบหรือซักถามครูพี่เลี้ยง จากนั้นนำข้อสอบที่ออกเสร็จเรีบร้อยแล้วให้ครูพี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อนำไปแก้ไขต่อไป

สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             รูปแบบและวิธีการออกข้อสอบ
2.             โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา






สัปดาห์ที่ 7 - 8 ระหว่างวันที่ 2-13 เดือน กรกฎาคม 2555
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การบันทึกผลหลังการสอน
2.             การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
3.             การกรอกข้อมูลนักเรียนออนไลน์
4.             การจัดทำระบบช่วยเหลือนักเรียน
ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
1.             การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ทุกๆครั้งเมื่อสอนเสร็จ ผู้สอนต้องบันทึกผลหลังการสอนเพื่อที่จะได้ทราบถึงผลการเรียนของผู้เรียนในแต่ละครั้ง รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สอนได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
วิธีการแก้ไข สอนเสร็จทุกครั้งต้องบันทึกผลหลังการสอน จากนั้นให้ครูพี่เลี้ยงตรวจ เพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขต่อไป
สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             กิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.             การใช้ Classroom language ในชันเรียน
3.             นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่










สัปดาห์ที่ 3-4 ระหว่างวันที่ 5-15 เดือน มิถุนายน 2555
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             การคุมชั้นเรียน
2.             การจัดกิจกรรมให้เหมาะกับธรรมชาติและบริบทของผู้เรียน
3.             การทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาฝึกสอน (การทำโครงการ)
4.             กิจกรรมยุวการชาด
5.             การวัดและประเมินผลของนักเรียน
6.             การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
1.             เวลา เนื่องจากบางกิจกรรมต้องใช้เวลาในการเล่นและผู้เรียนมีจำนวนเยอะ ทำให้เวลาไม่เหมาะในแต่ละคาบ ทำให้การสอนไม่เป็นไปตามที่เราวางไว
วิธีแก้ ควรปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับเลา
2.             สื่อการสอน บางครั้งสื่อการสอนที่ครูนำมาใช้นั้น บ้างห้องไม่สามารถนำสื่อการสอนนั้นมาใช้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถ และความมีส่วนร่วมของนักเรียน
วิธีแก้ ปรับสื่อการสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถของนักเรียนแต่ละห้อง
สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม
1.             กิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสอนและเน้นผู้เรียนเป็นหลัก
2.            ศึกษาความรู้เพิ่มเพื่อพัฒนาความรู้ของตนเอง








สัปดาห์ที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 17-1 เดือน พฤษภาคม 2555

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.             เทคนิคหรือกลวิธีที่ใช้ในห้องเรียนเพื่อควบคุมชั้นเรียนให้ดำเนินไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้
2.             การจัดกิจกรรมให้เหมาะกับระดับความรู้และวัยของนักเรียนแต่ละห้อง
3.             การปรับหรือวางตัวของตนเองให้เหมาะสมเมื่ออยู่ในห้องเรียนหรือโรงเรียน
4.             การจัดกิจกรรม Home Room
5.             การคุมผู้เรียนทำความสะอาดในตอนเช้าทุกวัน
6.             การสอนวิชาแนะแนว
ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
1.             การควบคุมชั้นเรียน เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนมากทำให้การคุมชั้นเรียนค่อนข้างคุมยาก อีกทั้งผู้เรียนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ บ้างก็ไม่สนใจบทเรียน ส่งผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนเป็นไปอย่างล่าช้า
วิธีการแก้ไข ควรหาวิธีจัดการกับนักเรียนเหล่านั้น ครูต้องชักจูงให้นักเรียนมีบทบาทในการจัดกิจกรรมมากขึ้น โดยการซักถาม ออกมาทำกิจกรรมหน้าห้อง เพื่อลดการพูดคุยของนักเรียนเหล่านั้น
2.             สื่อการสอน เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้สนใจบทเรียน ดังนั้นครูควรมีสื่อการสอนที่หลากหลาย อีกทั้งทำให้การคุมชั้นเรียนเป็นไปอย่างดีอีกด้วย
สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่ม                                   
1.             เนื้อหาที่จะสอนในแต่ละหน่วย และเนื้อหาความรู้ในสาขาของตนเอง
2.             วิธีการสอนที่สอดรับ AEAN
3.             สื่อการสอนหรือนวัตกรรมที่หลากหลาย


My album

Acting: Making Egg (English Major 04 NSTRU)

English Camp For School at Wat praprom School

Laab Kai

Learn English - Introduction to phonetics

Why are Phonetics Important? | Learn English | Vocabulary.

Long Vowel Sound

Noun Claus